ทำความเข้าใจกับไม้สัก
สักเป็นชื่อพรรณไม้ขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน โดยมีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Teak ปรากฏพบในแถบตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ โดยประเทศที่ค้นพบอยู่ในบริเวณ อินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย ไม้สักพบได้มากในประเทศไทยที่บริเวณป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือ และ ภาคกลางบางส่วน ไม้สักเป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานมากกว่าไม้เนื้อแข็งหลายๆชนิด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของไม้สัก
ลำต้นสัก : ลำต้นมีลักษณะเปลา(ลำต้นสูงไม่มีกิ่งตามลําต้น) ตรงเปลือกไม้จะเรียบ หรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ตัวเปลือกไม้จะเป็นสีเทา-น้ำตาล หนาประมาณ 0.30-1.70 ซม. โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ โดยส่วนใหญ่โตเต็มที่สูงกว่า 20 เมตร
ใบสัก : ลักษณะใบสักจะเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกตรงข้ามเป็นคู่ ใบจะเป็นรีมน หรือ รูปไข่ ปลายใบมีลักษณะแหลม ความกว้างอยู๋ที่ประมาณ 25-30 ซม. มีความยาวอยู่ที่ 30-40 ซม. มีสีเขียวเข้มแแกมเทา ขยี้ใบสักสดจะมีลักษณะสีแดงคล้ายเลือด
ดอกสัก : เป็นดอกที่มีขนาดเล็กสีขาวนวล ออกดอกเป็นช่อใหญ่พุ่มๆ ผลิดอกในช่องต้นเดือนมิถุนาคม จนถึง ตุลาคม
ผลสัก : เป็นผลที่มีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 2 ซม. ในหนึ่งผลจะมีเมล็ดอยู่ 1-4 เมล็ด เป็นสีน้ำตาล
ประโยชน์ของพรรณไม้สัก
ใบไม้สัก : นำใบสักมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ใช้ทำเป็นยาอมแก้เจ็บคอ ตัวใบสักมีคุณสมบัติในการบำรุงเลือด รักษาอาการประจำเดือนไม่ปกติ
ดอกไม้สัก : มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ
เนื้อไม้สัก : มีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ ขับลม และ รักษาโรคผิวหนัง